บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 2
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายคณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
-เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
-ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
-เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนและประเมินผล
-เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสต่างๆ (แรกเกิด -2 ปี)
-เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
-สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (2-7 ปี)
-ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
-เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐาน เช่น การเล่นขายของ พ่อค้า แม่ค้า คนซื้อ คนขาย เป็นต้น
*เด็กวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
*ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้
การอนุรักษ์ (Conservation) คือ การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผล
พัฒนาการอนุรักษ์ได้
-โดยการนับ
-จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
-เรียงลำดับ
-จัดกลุ่ม
หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยกัน อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
-ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
-เด็กได้เรียนรู้จากการนับ เช่น นับขาของสัตว์ในภาพ นับกอหญ้า เป็นต้น
-เด็กเรียนรู้จาการเปรียบเทียบ เช่น ขาของสัตว์ทีเห็นในภาพไม่เท่ากัน ซึ่งเราจะนำศิลปะในภาพนี้สอนเด็กได้จากการสังเกต หรือ มีตัวการ์ตูนของปลอม มาสอนเด็ก
-เด็กเกิดการเรียนรู้ รูปทรง ขนาดน้ำหนัก ความยาว สั้น
-เด็กเกิดการเรียนรู้ รูปทรง ขนาดน้ำหนัก ความยาว สั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น