วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

                                                                   บันทึกอนุทิน
                                    วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                            อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                           วัน/เดือน/ปี   22   มกราคม  2557     ครั้งที่ 9
                                          เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
                                           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.



             วันนี้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับ การทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสี  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา และอุปกรณ์อื่นๆ  สี   กรรไกร ไม้บรรทัด  กาว ให้ใช้กันเป็นกลุ่มๆ   วันนี้หนาวมากๆ ทุกคนใส่เสื้อกันหนาวกันหมด อาจารย์ก็ใส่ น่ารักมากๆเลย ดูเหมือนเด็กเลย อาจารย์เราก็เป็นคนเปิดเพลงอีกเหมือนเดิม เป็นดีเจ เปิดเพลงให้นักศึกษาไปด้วยทำงานไปด้วย


                                                        เพื่อนๆ กำลัง พากันวางแผน





กลุ่มของฉันกำลังออกแบบ วาดรูป








                                                 เสร็จแล้วคะ ผลงานของกลุ่มพวกเรา

                                                                 6 สหายเพื่อนรัก




                                                              ผลงานของเพื่อนๆ






                                                       เพื่อนๆ ออกมานำเสนอ ผลงาน







การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ

-นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้โดยอาจจะเล่านิทาน หรือ บรรยายให้เด็กฟังเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

-เด็กสามารถจำแนกสี เรียงลำดับ นับจำนวนได้

-เด็กสามารถเปรียบเทียบ และรู้จักรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม สีเหลี่ยม สามเหลี่ยม  เป็นต้น

-เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์


                  พอเสร็จจากการนำเสนอแล้วอาจารย์ก็ยกตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


                              ในภาพนี้คือ การจำแนกประเภทของสัตว์ ที่เป็นสัตว์มีพิษและไม่มีพิษ


                              ในภาพนี้คือ การจำแนกประเภทของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า

                     ในภาพนี้คือ การเปรียบเทียบระหว่าง อาหารที่มีปรโยชน์และไม่มีประโยชน์



                                                      ในภาพนี้คือการสำรวจ ร่มแบบใดที่หนูชอบ




                               ในภาพนี้คือ การสังเกต การเปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง








  ในภาพนี้คือ การจำแนกประเภทของสัตว์ ที่เป็นสัตว์มีพิษและไม่มีพิษ



                                           



               พออาจารย์สอนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเสร็จแล้วก็ให้ 
              งานชืิ้นหนึ่งทำเป็นกลุ่ม มี 3 กลุ่ม
         1.การเปรียบเทียบ     2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง    3.การสำรวจสื่งที่ชอบ


กลุ่มที่ 1 การเปรียบเทียบระหว่างของใช้ในห้องนอนกับห้อง


                                       


 



การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ
       เด็กได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ สิ่งของต่างๆภายในบ้าน เช่น ห้องนอนกับห้องครัว ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สิ่งของชนิดใดควรอยู่ในห้องนอน สิ่งของชนิดใดควรอยู่ในห้องควร การเปรียบเทียบนี้สอนให้เด็กเป็นคน รู้จักสังเกต ความน่าจะเป็น การเปรียบเทียบ และฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน ของเด็กได้


กลุ่มที่ 2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง





การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ
     เด็กได้เรียนรู้การเปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างของสัตว์ 2 ชนิด คือ แมว และ วัว ว่าสัตว์  2ชนิดมีความต่างกันคืออะไร และมีความเหมือนกันคืออะไร  การเรียนรู้แบบนี้ช่วยให้เด็กเป็นคนรู้จักสังเกต จินตนาการ ความน่าจะเป็น  ในการเปรียบเทียบสัตว์ 2 ชนิดนี้

           กลุ่มที่ 3.การสำรวจสื่งที่ชอบ




การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ
          เด็กได้เรียนรู้การสำรวจสื่งที่ชอบ 4 ชนิด คือ ผีเสื้อ ปลา แมว นก โดยให้เด็กในห้องออกมาเขียนหรือติดกระดาษ ว่าตัวเองชอบสัตว์ชนิดไหน แล้วร่วมกันสรุปผลว่าเด็กในห้องชอบสัตว์ชนิดไหนมาก  ชอบสัตว์ชนิดไหนน้อย และไม่ชอบสัตว์ตัวนั้น การเรียนรู้แบบนี้ช่วยส่งเสริมการคิดของเด็ก การมีเหตุผล การตอบคำถาม กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก และการสังเกตสัตว์ในชีวิตประจำวัน

                                                       
                                                   อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาฟัง




                                     เจอผลงานของกลุ่มตนเองและผลงานของเพื่อนๆในห้อง ปฐมวัย

                                                                  6 สหายเพื่อนรัก  


                                      






             วันนี้สนุกมากคะ สนุกจริงๆ ทุกคนร่วมมือการทำผลงาน 2 ชิ้นนี้ร่วมกันอย่างสามัคคี แล้วก็ออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในห้อง การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นไม่ใช้เรื่องง่ายและก็ไม่ใช้เรื่องยาก อยู่ที่เราจะจัดการเรียน การสอนให้เด็กได้รับ ความรู้มาก หรือน้อยเท่านั้นเอง แล้วหลังจากการเรียนเด็กจะได้รับอะไรบ้าง เราควรคำนึงถึงเด็กเป็นหลักและการเรียนรู้ของเด็กนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไป ........นะคะ







                                                 




วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

                                                                   บันทึกอนุทิน
                                    วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                            อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                           วัน/เดือน/ปี    15  มกราคม  2557     ครั้งที่ 8
                                          เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
                                           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.



          วันนี้ ทำกิจกรรม  นิทานเล่มใหญ่  (Big Book)  อาจารย์และนักศึกษาพากัน แต่งนิทานรวมกัน แล้วนำมาแบ่งหัวข้อ และทำฉลากเพื่อเลือกหัวข้อหรือเนื้อเรื่องของนิทานว่า ใครจะได้ทำหัวข้อไหน  ตอนไหน ของนิทาน  วันนี้นั่งทำงานกับพื้น เปิดเพลงฟังแบบสบายๆ ชิวๆ เพื่อนๆเป็นอิสระมากในการทำงาน อาจารย์เดินดูนักศึกษาทำงาน และก็เป็น ดีเจ  ให้นักศึกษาขอเพลง  วันนี้เรียนแบบสบายมาก แต่พวกเราก็ช่วยกันทำงานได้ดี




                                                            นิทาน ลูกหมูเก็บฟืน

          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

                                           อุปกรณ์ ที่จะทำ นิทานเล่มใหญ่  (Big Book) 




                                                         กำลังวางแผนการทำนิทาน








                                                         เริ่มลงมือในการทำนิทาน











                                                 ผลงาน นิทานกลุ่มเราเสร็จแล้วคะ


แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอ

หน้าปก นิทานลูกหมูเก็บฟืน


เนื้อหา นิทานลูกหมูเก็บฟืน













เสร็จสมบูรณ์แล้วนิทาน ลูกหมูเก็บฟืน



**ทุกครั้งในการทำงาน พวกเราร่วมมือ ร่วมใจกันในการทำงานมากคะ
นักศึกษาราชภัฏจันทรเกษม



การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ


-  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องให้กับเด็กได้

-  เรียนรู้การเขียน   การอ่าน  การนับจำนวน

-  กระตุ้นให้เด็กแสดงการสื่อสารผ่านกระบวนการคิดตลอดเวลา

-  การให้เด็กได้ฝึกคิดจำนวน  ตัวเลข เช่น การลบ  การบวก

- ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
















วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึอนุทินครั้งที่7

                                                                       บันทึกอนุทิน
                                    วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี    8  มกราคม  2557     ครั้งที่ 7
                                       เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
                                       เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


         หลังจากผ่านช่วงสอบและช่วงปีใหม่มาพักผ่อนมาซะเต็มที่ละ  ทุกคนก็กลับเข้าสู่สภาพเดิม ช่วงการศึกษาเล่าเรียนเหมือนเคย
         วันนี้ก็เป็นอีกวันที่เรามาเรียน ได้พบเจอกับอาจารย์และเพื่อนๆ  ทุกคนสดชื่่นแจ่มใส  ร่าเริงกันจริงๆ อาจารย์ท่านยังน่ารักไม่เคยเปลี่ยน เพื่อนๆก็สวยๆ น่ารักกันเหมือนเดิม  วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  คือ......

                                              กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 

       เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

เมื่อเด็กจบอนุบาล 1-3 จะได้อะไรบ้างจากวิชาคณิตศาสตร์.......?
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา  เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

                                                           สาระมาตรฐานและการเรียนรู้

      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

    -มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง

                                                        จำนวน , การรวมและการแยกกลุ่ม



       ในภาพนี้จะบอกถึงการนับจำนวนของเด็กเมื่อเด็กเห็นเขาจะบอกได้ว่า  จำนวนของหมีคือ 2 ตัว และกระต่าย 4 ตัว พอนำกระต่ายและหมีมานับรวมกัน จะได้ 6 ตัว และการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีจะได้ 2 กลุ่ม  เช่น ครูอาจใช้คำถามทีว่า สัตว์หูสั้นมีกี่ตัว  สัตว์หูยาวมีกี่ตัว   หรือ สัตว์สีขาวมีกี่ตัว  สัตว์สีน้ำตาลมีกี่ตัว  เป็นต้น


 สาระที่ 2 การวัด

  -มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

                                               ความยาว  น้ำหนักและ ปริมาตร 

-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

                                                                เงิน 
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เช่น เด็กอนุบาลจะบอกได้ว่า ค่าของเงินไหนมากกว่า เงินไหนน้อยกว่า 5 บาท น้อยกว่า 10 ซื้อของได้แค่ 2 บาท 3 บาท 4บาท ถึง5 บาท ซื้อมากกว่านั้นไม่ได้แล้ว

**เด็กปฐมวัยจะไม่มีการวัดเป็นหน่วย เซนติเมตร  มิลลิเมตร หรือ หน่วยต่างมาใช้ในการสอน แต่จะสอนโดยการนำสิ่งของรอบตัวมาวัดหรือใช้อวัยวะร่างกายมาวัด เช่น ช่วงก้าวของขา หรือ ความยาวของแขน  ที่สามารถใช้วัดสิ่งของแทนได้

                                                            เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน



                             
                            การชั่งโดย ตาชั่ง เอียง หรือ ตาชั่ง 2แขน โดยเด็กจะบอกได้ว่า  ข้างไหนมีน้าหนักมาก ข้างไหนมีน้ำหนักน้อย  โดยเด็กจะบอกได้จากการสังเกตในสิ่งที่เห็นและลงมือปฏิบัติจริง



               ในภาพนี้คือ การตัดกระดาษเป็นรูปมือของเด็ก แล้วให้เด็กนำมาวัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ เช่น มีเชือกยาวหนึ่งเส้น เด็กก็จะนำแผ่นรูปมือมาเรียงกันตั้งแต่ ต้น จนถึง ปลายเชือก  แล้วจะเด็กจะบอกได้ว่า เชือกเส้นนี้ ยาวกี่มือ.....?

สาระที่ 3 เรขาคณิต

 -มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

                                         ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา  ข้างนอก ข้างบน  ตรงนี้ ตรงนั้น   เป็นต้น

                                                    รูปเรขาคณิต

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติ คือ   วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
รูปเรขาคณิตสามมิติ คือ    ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก

**เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติ ก่อน 2 มิติ เพราะ 3 มิติ เป็นของจริง จับต้องได้ เช่น ลูกบอล






  

















                                                                                              จากภาพข้างบนเป็นรูปทรงเรขาคณิต ถึงแม้ว่าจะนำรูปทรงมา ซ้อนกันต่อกัน และทำส่วนที่หายไปครึ่งหนึ่ง เด็กก็จะตอบเหมือนเดิมว่า รูปนั้นคือทรงกลม รูปนั้นทรงสามเหลี่ยม รูปนั้นทรงสี่เหลี่ยม ถึงแม้จะหายไปครึ่งหนึ่งหรือ ซ้อนกัน ก็ตาม เพราะเด็กจะตอบตามสิ่งที่เขาเห็นเท่านั้น

สาระที่ 4  พีชคณิต

-มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

                                                  แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาด หรือ สีที่สัมพันธ์กัน





                               


             จากภาพข้างบน คือแบบรูปและความสัมพันธ์ เพื่อให้เด็กได้เติมส่วนที่หายไป และสังเกตความสัมพันธ์ของภาพที่หายไป เช่น  กระต่าย  หมี  กระต่าย ....?....  กระต่าย   , น ก    ปลา   นก ...?....ปลา  เป็นต้น



สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ


                       


            จากภาพเป็น ตารางที่เด็กได้บันทึกอากาศประจำเดือน โดยเด็ก แต่ละคนภายในห้องจะรับผิดชอบร่วมกัน  เช่น วันจันทร์ที่ 1 เดือน สิงหาคม  มีอากาศร้อน เด็กก็จะวาดรูปพระอาทิตย์ไว้ตรงช่อง วันจันทร์ที่ 1 เดือน สิงหาคม   พร้อมกับเขียนชื่อ ของตัวเองไว้



              จากภาพเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ยีราฟกับม้าลาย ว่าแตกว่าแตกต่างกันอย่างไรถึง ลักษณะของสัตว์สองตัวนี้ และมีสิ่งที่เหมือนกันอย่างไรของสัตว์สองตัวนี้  โดยมีวงกลม 2 วง เชื่อมต่อกัน แล้วมีรูปม้าลาย และ ยีราฟ ติดไว้ให้ดู




                   จากภาพเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์มีพิษและสัตว์ไม่มีพิษ โดยมีสัตว์ที่เป็นของเล่นมาติดไว้ให้เด็กดู เพื่อเด็กจะได้แยกแยะถึงลักษณะของสัตว์สัตว์มีพิษและสัตว์ไม่มีพิษ




                     จากภาพเป็นการสำรวจมุมของแต่ละมุมว่ามุมไหนที่เด็กสนใจมากที่สุด  โดยเด็กจะเป็นคนสำรวจมุมที่ตัวเองชอบ แล้วให้เด็กๆ มาเขียนว่ามุมไหนที่เด็กๆชอบมากที่สุด
  


สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   เช่น  การสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก คือ เด็กเล่นบล็อกครูจะสอดแทรกการนับ รูปทรง เข้าไปในการถามเด็ก  เช่น หนูทำอะไรคะ บล็อกที่ว่ามีกี่อัน เด็กจะนับแล้วบอกครู
             
  หลังจากนั้นอาจารย์ ก็ให้ทำงานชิ้นหนึ่ง โดยมีแผ่น รูปวงกลม  รูปสีเหลี่ยม  รูปสามเหลี่ยม มา  แล้วให้เด็กๆเลือกรูปที่ตนเองชอบมา ทาบกับกระดาษสีแล้วตัด  พอตัดเสร็จแล้วก็ติดกาวเเปะกับกระดาษ  A4 แล้วทำรูป สัตว์ที่ตัวเองต้องการทำ

                                                                     อุปกรณ์ที่จะต้องทำ





                                                             
                                                             ผลงงาน เสร็จสมบูรณ์








                                    เสร็จแล้ว ผลงานที่สวยเวอร์ ช้างน้อยเล่นน้ำ 


การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ


-รับรู้ถึง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง

-เด็กได้ฝึกการ ทำรูปทรงต่างๆให้เกิดประโยชน์

-เด็กได้เปรียบเทียบตัวสัตว์กับเพื่อน เช่น หน้ากลม หน้าสามเหลี่ยม ตัวกลม ตัวสามเหลี่ยม  เป็นต้น

-เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน

-สามารถนำสื่อต่างๆ มาสอนเด็กได้ เช่น  รูปภาพ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย