วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่6

                                                                   บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   11  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 6
                                         เวลาเข้าสอน   -      เวลาเรียน   -        

                                         เวลาเลิกเรียน   -     


         วันนี้ไม่ได้เรียนเพราะว่า  มีกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ ทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง อาจารย์และนักศึกษา จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ ทั้งวันเลย วันนี้สนุกมากๆ และก็ร้อนสุดๆ แต่ทุกสีก็ร่วมมือ  ร่วมใจกันเพื่อจะให้ สำเร็จไปได้ด้วยดี กีฬาสีวันนี้มี  4 สี คือ สีเขียว  สีน้ำเงิน  สีชมพู และสีส้ม ทุกสีอลังการกันมาก แบบว่าไม่ยอมกันเลยทีเดียว 
         การแข่งขันด้านกีฬาก็มี   วิ่งแข่ง    วิ่งพลัด  วิ่งกระสอบ   วิ่งฮูลาฮูบ  เตะฟุตบอล ส่วนเชียร์ลีดเดอร์
แต่ละสีก็จัดเต็มเลยที่เดียว ทางสแตนด์ก็ร้องจนสุดเสียง ก่อนจะถึงการแข่งขันจริงๆ ก็ต้องมีการซ้อมกัน เบาๆ ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม พอถึงเวลาจริงต่างคนต่างเต็มที่สุดๆ

                                                                 ภาพกิจกรรม กีฬาสี

                                                                 เดินขบวน  / เปิดพิธี

    

คณะสีน้ำเงิน












คณะสีเขียว สีชมพู และ สีส้ม

กำลังแข่งขัน เชียร์ลีดเดอร์












                                                          มอบรางวัล และ พิธีปิด เวลา 17.30










         วันนี้ทุกคนสนุกกันมาก และก็เหนื่อยกันมาก ทั้งอาจารย์และนักศึกษา แต่ก็คุ้มที่มีกิจกรรมดีๆ ให้ทำร่วมกัน  กีฬาช่วยสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะได้ มีความร่วมมือร่วมใจกัน การจัดกีฬาขึ้นก็เพื่อให้ทุกคนหันมาเล่นกีฬา และ มีน้ำใจเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจกันในหมู่คณะและที่สำคัญเพื่อให้คณะ ของเรามีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น









วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



                                                                     บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   4  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 5
                                         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น. 

                                         เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

 

       วันนี้แต่ละกลุ่มนำ กิจกรรม ของกลุ่มตัวเอง มานำเสนอเพื่อนๆในห้องเพื่อให้เห็นของจริง  กิจกรรมนี้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ ไปในคาบครั้งที่  4  มีกลุ่ม  จำนวนและการดำเนินการ  รูปทรงเรขาคณิต  การวัด   พีชคณิต   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


                                                                   กลุ่ม พีชคณิต





          เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ หาภาพที่หายไปมาเติมในช่องว่างที่กำหนดให้  ที่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน  เช่น มีช่องว่างให้เติม
ช่องที่  1 เป็น แมว   ช่องที่ 2 เป็น ลิง   ช่องที่ 3 เป็น ไก่
ช่องที่ 4 เป็น แมว   ช่องที่ 5 เป็น ลิง    ช่องที่ 6 เป็น...... เป็นต้น



                                               การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น






        เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ
                   นำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูก  ทายว่าจะออกมาสีไหน
สีขาว  สีส้ม หรือ  สีน้ำเงิน
                   เงินเหรียญ จะมีทางหัว และทาง ก้อย ถ้าเราโยนขึ้นไป แล้วถ้ามันตกลงมา ทายว่ามันจะออก ทางไหน....หัว หรือ ก้อย
                  ปากกาสี ฟ้า เหลือง ส้ม ถ้าเราสุ่มจับปากกามาแท่งหนึ่งทายว่าจะออกมาสีไหน
สีฟ้า  สีส้ม หรือ  สีเหลือง
                 *  ถ้าสมมติว่า  ลูกปิงปอง  2 สี คือ ส้ม กับ แดง  ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆคิดว่าจะจับได้สีไหน  เด็ก จะตอบไม่เหมือนกัน  บ้างก็สีแดง บ้าก็สีส้ม น
                  * ถ้าสมมติว่า  ลูกปิงปอง 5  ลูก คือ  3 ลูก สีเขียว อีก 2 ลูก สีขาว   ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆ คิดว่าจะจับได้สีไหน  เด็ก จะตอบไม่เหมือนกัน  บ้างก็สีเขียว บ้างก็สีขาว แต่ส่วนมากเด็กจะตอบว่า สีเขียวเพราะมันมีความน่าจะเป็นไปได้มากกว่า เพราะจำนวนสีเขียวมากกว่าสีขาว
 (**เล่นกับเด็กปฐมวัย  อนุบาล 2 หรือ 3 )


                                                                        การวัด  



           เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ มีรูปภาพมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียบว่าภาพไหนยาว- ภาพไหน     สั้น  สูง -ต่ำ ซึ่่งเพื่อนนำ ภาพปลา  หนอน  ยีราฟ มาให้ดู กับภาพ หมีอีก 3 ตัว ดินสออีก 2  แท่ง   ภาพมังคุด 2 ลูก และภาพแก้วน้ำ 3แก้ว

               1 .  ถ้าเรียงจาก สูงไปต่ำก็จะได้= ยีราฟ  หนอน  ปลา
               2  . ถ้าเรียงจากต่ำไปสูงก็จะได้  = ปลา    หนอน ยีราฟ
               3 .  ถ้าถามว่าดินสอแท่งไหนยาว  = ดินสอแท่งสีส้ม ยาว   ดินสอแท่งสีฟ้า สั้น
               4  . ถ้าถามว่าเด็ก ๆ คิดว่ามังคุดลูกไหนหนัก -ลูกไหนเบา  เด็กก็จะตอบไปว่า ลูกที่ใหญ่กว่า ต้องหนักกว่า และลูกที่น้อยกว่าต้องเบากว่า   เด็กบางคนอาจจะคิดไปว่าลูกใหญ่กว่าหนอนอาจจะกินหมดก็ได้เนื้ออาจมีน้อย   และลูกน้อยกว่าอาจมีเนื้อเยอะก็ได้  เป็นต้น
* เด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและพูดออกมาตามสิ่่งที่ตัวเองเห็น
**(4 )** ซึ่งในการสอนเด็ก เกี่ยวกับ การวัด ดีที่สุดควรมีของจริงมาให้ดูและสัมผัส นะจ๊ะ                


                                                                 รูปทรงเรขาคณิต



         เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ นำรูปทรงมาให้ดู รูปทรงต่างๆ คือรูป สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  วงกลม คางหมู  ห้าเหลี่ยม  หกเหลี่ยม  ทั้งนี้เพื่อนกลุ่มเรขาคณิต ก็ยังให้เพื่อนในห้องได้เล่นได้ต่อ รูปทรงที่เขานำเสนอด้วย
         เพื่อนถามว่า อวัยวะส่วนไหนที่สามารถทำเป็นรูปทรงได้บ้างเอย
         ตอบไปว่า  แขน  ลำตัว    ขา      แขนทำเป็นรูป สีเหลี่ยมได้   นิ้วมือทำเป็นรูปสามเหลี่ยมก็ได้  แล้วจับคู่ทำรูปทรงกับเพื่อน
         อวัยวะทุกส่วนเราสามารถทำเป็นรูปทรงได้ ส่งเสริมให้เด็กฝึกการจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์  และฝึกการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ในการทำรูปทรงร่วมกัน



                                                          จำนวนและการดำเนินการ






                   กลุ่มนี้ คือกลุ่มของดิฉัน  ได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบ ระหว่าง ผลไม้ เล็ก-ใหญ่   เปรีบเทียบ ตัวสัตว์ -หัวสัตว์    กลุ่มของดิฉันให้เพื่อน ได้ออกมามีส่วนร่วมด้วยกันในการนำเสนอกิจกรรมในครั้งนี้ และใหเพื่อนเต้นไปพร้อมๆกันร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ

เพลง ออกกำลังกาย
กระโดดขึ้นส่ายตัวไป  แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
ชูมือซ้าย  ชูมือขวา แล้วตบมือพร้อมกัน 
1 2 3 4 , 567, 8 9 10

แล้วก็ให้เพื่อนออกมามีส่วนร่วมการทำกิจกรรมด้วยกัน

                  เด็กๆคิดว่า แอปเปิ้ลในภาพ 2 ภาพนี้  อันไหนใหญ่กว่า  อันไหนเล็กกว่า
                  เด็กก็จะบอกว่า ภาพนี้ใหญ่  ภาพนี้เล็ก ตามภาพที่เด็กเห็น

                   เด็กๆคิดว่าหัวสัตว์ กับตัวสัตว์  อันไหนที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
                  เด็กก็จะใช้การสังเกตดู  เช่น หัวหมีแพนด้า ต้องคู่กับ ตัวหมีแพนด้าซึ่ง ตัวกับหัวจะมีสิ่งที่ใกล้ เคียงกันอยู่ในภาพ เด็กก็จะใช้การเปรียบเทียบตามประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา

* เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือกันดีมากๆ น่ารักมากๆ ขอบใจนะจ๊ะ



                  พอทุกกลุ่มนำเสนองานครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำผลงานชิ้นหนึ่ง คือให้กระดาษ 1 แผ่น มาแล้ววาดรูปวงกลม ไว้กลางหน้ากระดาษ และเขียนเลข ที่ตัวเองชอบไว้ในวงกลมที่วาด พอเขียนเสร็จอาจารย์ก็ให้มาเอากระดาษสีมาทำเป็นกลีบดอกไม้ ทำกลีบตามเลขที่ตัวเองเขียน
ฉันเขียนเลข 9 ก็ทำกลีบดอกไม้ 9 ดอก

                                                     
                                   ผลงานชิ้นนี้ คือ  ดอกทอง 9


                                                 
                                                    เพื่อน ๆ ที่ทำดอกไม้สีทองเหมือนกัน





การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ

-รับรู้ถึงกิจกรรมต่างๆของแต่ละกลุ่มได้เห็นภาพจริง ที่เพื่อนนำมาเสนอละนำไปสอนเด็กได้

-รับรู้ถึงพื้นฐานกิจกรรม  คณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เกมการนับ การเปรียบเทียบ ใหญ่-เล็ก

-เด็กได้ฝึกการ นับ ได้ คือ การนับ กลีบดอกไม้ ของแต่ละกลีบว่ามีกี่ดอก

-เด็กได้เรียนรู้ถึงรูปทรงของดอกไม้ แต่ละแบบต่างๆ

-เด็กได้เปรียบเทียบดอกเล็ก- ดอกใหญ่ ยาว -สั้น กับเพื่อนได้

-เด็กได้รู้ถึงการเขียนตัวเลขฮินดู  อารบิก  ไทย


















วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4



   

                                                                   บันทึกอนุทิน
                                   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                             วัน/เดือน/ปี   27  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 4
                                             เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น. 
                                            เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


                         วันนี้นำเสนองานในรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย    มีกลุ่มต่างๆดังนี้         จำนวนและการดำเนินการ    รูปทรงเรขาคณิต  การวัด   พีชคณิต   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

               กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์     มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


                            
                                             กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ






จำนวนและการดำเนินการ  คือ การรวมและ การแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

สาระการเรียนรู้     จำนวนและการดำเนินการ

-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
 -การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก  และตัวเลขไทย 
-  การเขียนตัวเลขฮินดู  อารบิก แสดงจำนวน
 -  การเปรียบเทียบจำนวน
-  การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
-  การรวมสิ่งต่าง ๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
-  การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

       คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี          
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
 2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ      
 3) ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

   คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  4  ปี 
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
 2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้         3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4)เข้าใจ   รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด 
                         
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  5  ปี        
  1) เข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม  2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร  สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3)เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก    รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม 

กลุ่มของดิฉันก็มีการนำเสนอ vdo เกี่ยวกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                                                    กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต 

                             
                       




         



           รูปเรขาคณิตสองมิติ  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม  และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น

                   
               


                    รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม  

                   รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม

                   รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม

                    รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม

                    รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม
                           
                    รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน

                   รูปทรงกระบอก มีฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการกับหน้าตัด และอยู่ในระนาบ
ที่ขนานกัน
                    รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน

                   รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
 
                   รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน

                   รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากมีด้านทั้งสี่่ยาวเท่ากัน

         เพื่อนๆกลุ่มนี้นำกิจกรรมมาเสนอด้วย มีเกม  รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้ และ รูปทรงเรขาคณิตกับสิ่งของในชีวิตประจำวัน

                                                                   กลุ่ม    การวัด  





       
                                         
       
             การวัด  หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ

           ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่การเปรียบเทียบและการจัดลําดับ  ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ําหนักของสิ่งของ หาว่าสิ่งใดยาวที่สุด จะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด การวัดจะช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง ตําแหน่ง ทิศทาง รวมทั้งการคาดคะเน และการกะประมาณ การวัดสําหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ําหนัก ปริมาณ


  1. เพื่อให้เด็กรู้จักการวัด  ความเข้าใจในการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่่ง เพื่อเปรียบเทียบสิ่งของสองหมู่ว่ามี
จํานวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า

  2. เพื่อให้รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบการจัดสิ่งของตามลําดับความยาว การสังเกตสิ่งของที่เหมือนกันหรือต่างกันตามรูปร่าง ขนาดและสี

 3.เปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน ตามขนาดความยาว ความสูง ความหนา น้ําหนัก

 4. ฝึกให้รู้ความหมายของคําที่แสดงตําแหน่งต่างๆ ของสิ่งของ เช่น  ใกล้ - ไกล  บน – ล่าง หน้า – หลัง ซ้าย – ขวา

 หน่วย การวัดในมาตราไทย                                                    หน่วยความยาวในระบบเมตริก
                   
12 นิ้วเท่ากับ 1 คืบ                                                              10 มิลลิเมตร  เท่ากับ   1  เซนติเมตร

  2 คืบเท่ากับ 1 ศอก                                                           100 เซนติเมตร   เท่ากับ  1   เมตร

 4 ศอกเท่ากับ 1  วา                                                                 1000 เมตร  เท่ากับ  1  กิโลเมตร

20 วาเท่ากับ 1 เส้น

400 เส้นเท่ากับ 1 โยชน์

1 วา เท่ากับ 2      เมตร     

                                                                                             
  **    เด็กปฐมวัยนั้น ยังไม่เข้าใจหน่วยการวัดแบบนี้ แต่เจ้าของบล็อกแค่อยากจะยกตัวอย่างหน่วย ความยาว และหน่วยการวัด เพียงเท่านั้น                                                                                      
      **    ในกิจกรรมการวัดความยาว ไม้บรรทัดอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจแนวคิดของการวัด เราอาจจะต้องเริ่มจากหน่วยที่ไม่ได้มาตรฐานให้เด็กเข้าใจก่อนที่จะนำไปสู่หน่วยที่เป็นมาตรฐาน และควรจะสอนให้เด็กเปรียบเทียบหน่วยด้วย  เช่น คลิปหนีบกระดาษกี่ตัวจึงจะยาวเท่ากับ 5 เซนติเมตร    เป็นต้น
            



                                                                     กลุ่ม พีชคณิต





              พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย 

          แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างไดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร


  

กลุ่ม   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น







      การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  
 -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
     
             ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 
               
             ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม 
              ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้

เพื่อนกลุ่มนี้ก็มีการยกตัวอย่างกิจกรรม มาให้ดูด้วย  เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด  มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็  ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด



ารนำไปใช้ /ประโยชน์ที่ได้รับ  

-ในการสอนเด็กในรายวิชาคณิตศาสตร์ ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ"และสนุกสนานน่าค้นหา
-สามารถนำสื่อต่างๆ มาสอนเด็กได้ เช่น  รูปภาพ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย 
-สามารถจัดการเรียนการสอนโดยเรียนรู้จากของจริงได้  เช่น ผลไม้  ดินสอ  ไม้บรรดทัด เป็นต้น
- เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก  หรือ จากรูปธรรมไปหานามธรรม 
-จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น การร้องเพลง  ท่องคำ  ทายปัญหา  การถาม  ตอบ

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3



                                                                        บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
                                         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น. 

                                         เวลาเลิกเรียน   12.20 น.



จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1 การสังเกต  (Observation) 

-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2 การจำแนกประเภท (Classifying) 

-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3 การเปรียบเทียบ (Comparing)

-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้


4 การจัดลำดับ (Ordering)

-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์


5 การวัด (Measuremwnt)

-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

* การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

6 การนับ (Counting)

-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)

-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน


                                            คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

                  ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด

                ขนาด-  ใหญ่  คล่าย  สองเท้า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย

                 รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม

                ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง

               ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท

               ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน

               อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด




                ผลงานชิ้นนี้คือ       สถานที่ที่ผ่านมาจากบ้านไปมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม








ประโยชน์จากการทำงานชิ้นนี้คิอ

1.ได้ฝึกการสังเกต สถานที่แต่ละแห่งจนจำได้ว่าสถานที่นั้น เป็นอย่างไร จนเกิดเป็นการจดจำ

2.ได้ฝึกการจำแนก  สถานที่ต่างๆ หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เช่น เด็กบอกได้ว่ายูเนี่ยนมอลล์เหมือนบิ๊กซีสะพานควายเพราะมีแอร์เย็นเหมือนกัน    สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์มีพื้นที่กว้าง ผู้คนชอบมาวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้า  เป็นต้น

3.ได้ฝึกการ เปรียบเทียบสถานที่  เช่น เด็กบอกได้ว่าบิ๊กซีสะพานควายใหญ่กว่ายูเนี่ยนมอลล์   หรือ  ยูเนี่ยนมอลล์ใหญ่กว่าบิ๊กซี  

4.ได้ฝึกกาจัดลำดับ ว่าสิ่งไหนมาก่อน มาหลัง เช่น เด็กเดินทางไปมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษมจากสะพานควาย ต้องผ่านบิ๊กซีสะพานควายก่อน ต่อมาผ่านสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ และต่อมาอีกก็ยูเนี่ยนมอลล์   เป็นต้น

5.ได้ฝึกการวัดระยะทาง  ไกลหรือใกล้   และ เวลาในการเดินทาง เร็ว หรือ ช้า

6.ได้ฝึกการนับ การท่องจำ เช่น เด็กไปบิ๊กซีระยะทางมันไกลแล้วเด็กก็จะนับระยะทางว่าเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ๆ

7.ได้รูปทรงและขนาด คือเด็กจะสามารถบอกได้ว่าแต่ละสถานที่แตกแต่งกัน ขนาดความแตกต่างกันอย่างไร 

                                                                                                                             



วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



                                                                    บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   13  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 2
                                         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น. 
                                         เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     
ความหมายคณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ  จำนวน  ตัวเลข การคิดคำนวณ 


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

-เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
-ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
-เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนและประเมินผล
-เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget

 1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสต่างๆ  (แรกเกิด -2 ปี)

-เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
-สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้

2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (2-7 ปี)

-ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด  น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
-เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐาน เช่น  การเล่นขายของ  พ่อค้า แม่ค้า  คนซื้อ  คนขาย  เป็นต้น

*เด็กวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
*ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้  เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้


การอนุรักษ์  (Conservation)  คือ การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผล

พัฒนาการอนุรักษ์ได้

-โดยการนับ
-จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
-เรียงลำดับ
-จัดกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยกัน อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
-ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


การทำศิลปะที่สอดคล้อง ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



                         ในภาพนี้ คือ สัตว์ประหลาด 2000 ปี







-เด็กได้เรียนรู้จากการนับ เช่น นับขาของสัตว์ในภาพ  นับกอหญ้า  เป็นต้น

-เด็กเรียนรู้จาการเปรียบเทียบ เช่น  ขาของสัตว์ทีเห็นในภาพไม่เท่ากัน ซึ่งเราจะนำศิลปะในภาพนี้สอนเด็กได้จากการสังเกต หรือ  มีตัวการ์ตูนของปลอม มาสอนเด็ก

-เด็กเกิดการเรียนรู้   รูปทรง  ขนาดน้ำหนัก    ความยาว    สั้น