บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วันนี้นำเสนองานในรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีกลุ่มต่างๆดังนี้ จำนวนและการดำเนินการ รูปทรงเรขาคณิต การวัด พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ
จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและ การแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี
1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ
3) ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้ 3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4)เข้าใจ รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
1) เข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม 2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3)เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
กลุ่มของดิฉันก็มีการนำเสนอ vdo เกี่ยวกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม
รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน
รูปทรงกระบอก มีฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการกับหน้าตัด และอยู่ในระนาบ
ที่ขนานกัน
รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากมีด้านทั้งสี่่ยาวเท่ากัน
เพื่อนๆกลุ่มนี้นำกิจกรรมมาเสนอด้วย มีเกม รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้ และ รูปทรงเรขาคณิตกับสิ่งของในชีวิตประจำวัน
กลุ่ม การวัด
การวัด หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่การเปรียบเทียบและการจัดลําดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ําหนักของสิ่งของ หาว่าสิ่งใดยาวที่สุด จะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด การวัดจะช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง ตําแหน่ง ทิศทาง รวมทั้งการคาดคะเน และการกะประมาณ การวัดสําหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ําหนัก ปริมาณ
1. เพื่อให้เด็กรู้จักการวัด ความเข้าใจในการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่่ง เพื่อเปรียบเทียบสิ่งของสองหมู่ว่ามี
จํานวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า
2. เพื่อให้รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบการจัดสิ่งของตามลําดับความยาว การสังเกตสิ่งของที่เหมือนกันหรือต่างกันตามรูปร่าง ขนาดและสี
3.เปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน ตามขนาดความยาว ความสูง ความหนา น้ําหนัก
หน่วย การวัดในมาตราไทย หน่วยความยาวในระบบเมตริก
12 นิ้วเท่ากับ 1 คืบ 10 มิลลิเมตร เท่ากับ 1 เซนติเมตร
2 คืบเท่ากับ 1 ศอก 100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร
4 ศอกเท่ากับ 1 วา 1000 เมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
20 วาเท่ากับ 1 เส้น
400 เส้นเท่ากับ 1 โยชน์
1 วา เท่ากับ 2 เมตร
** เด็กปฐมวัยนั้น ยังไม่เข้าใจหน่วยการวัดแบบนี้ แต่เจ้าของบล็อกแค่อยากจะยกตัวอย่างหน่วย ความยาว และหน่วยการวัด เพียงเท่านั้น
** ในกิจกรรมการวัดความยาว
ไม้บรรทัดอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจแนวคิดของการวัด เราอาจจะต้องเริ่มจากหน่วยที่ไม่ได้มาตรฐานให้เด็กเข้าใจก่อนที่จะนำไปสู่หน่วยที่เป็นมาตรฐาน
และควรจะสอนให้เด็กเปรียบเทียบหน่วยด้วย เช่น คลิปหนีบกระดาษกี่ตัวจึงจะยาวเท่ากับ
5 เซนติเมตร เป็นต้น
กลุ่ม พีชคณิต
พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย
แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างไดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร
กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
ความน่าจะเป็น หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข ( 0 ถึง 1 ) ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน
ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์ มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม
ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
เพื่อนกลุ่มนี้ก็มีการยกตัวอย่างกิจกรรม มาให้ดูด้วย เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็ ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด
การนำไปใช้ /ประโยชน์ที่ได้รับ
-ในการสอนเด็กในรายวิชาคณิตศาสตร์ ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ"และสนุกสนานน่าค้นหา
-สามารถนำสื่อต่างๆ มาสอนเด็กได้ เช่น รูปภาพ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย
-สามารถจัดการเรียนการสอนโดยเรียนรู้จากของจริงได้ เช่น ผลไม้ ดินสอ ไม้บรรดทัด เป็นต้น
- เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก หรือ จากรูปธรรมไปหานามธรรม
-จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น การร้องเพลง ท่องคำ ทายปัญหา การถาม ตอบ